เราปรับ โลกเปลี่ยน We Shift, World Change เป็นรายงานพิเศษด้วยความร่วมมือระหว่างสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (UN Global Compact Network Thailand-UNGCNT) และไทยพับลิก้า เพื่อนำเสนอ วิสัยทัศน์ นโยบาย และกลยุทธ์ในการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ความยั่งยืน ในบริบทของธุรกิจขององค์กร การมีส่วนร่วมพัฒนาและสนับสนุนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร เช่น คู่ค้า ลูกค้า ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ในการปรับตัว และการมีส่วนร่วมยกระดับชุมชนและสังคม ให้เปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน
บริษัท วรุณา (ประเทศไทย) จำกัด เป็นหนึ่งใน หน่วยธุรกิจหลักที่ก่อตั้งในปี 2563 ภายใต้บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ เรียกสั้น ๆ ว่า เออาร์วี ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท. สผ. โดยเป็นผู้บุกเบิกการนําเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) การเรียนรู้ของเครื่องจักรด้วยตนเองผ่านอัลกอริทึ่มต่างๆ การประมวลผลภาพจากอากาศยานไร้คนขับ หรือโดรน การวิเคราะห์ระบบข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมโยงกับค่าพิกัดภูมิศาสตร์ เเละแพลตฟอร์มการให้บริการในด้านต่างๆ มาใช้ในการดำเนินธุรกิจในการพัฒนาเทคโนโลยีเกษตร และป่าไม้อัจฉริยะอย่างครบวงจร เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยในการแก้ไขปัญหาก๊าซเรือนกระจก ตาม เป้าหมาย SDG ข้อ 13 การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
นายธราณิศ ประเสริฐศรี หัวหน้าทีมพัฒนาเทคโนโลยี บริษัท วรุณา (ประเทศไทย) จำกัด บอกว่า การดำเนินงานของวรุณาเพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเพิ่มการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกด้วยการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ส่วนที่สองคือ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในภาคการเกษตร
สำหรับการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกด้วยการเพิ่มพื้นที่สีเขียวนั้น ได้นำเทคโนโลยีของบริษัทมาใช้ ซึ่งมีส่วนช่วยให้โครงการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกของแต่ละองค์กร แต่ละพื้นที่ สามารถติดตามได้ รวมทั้งแก้ไขสถานการณ์หากมีปัญหาเกิดขึ้น เช่น มีไฟป่า มีการรุกล้ำพื้น
ทางด้านการใช้เทคโนโลยีในการช่วยเกษตรกร ได้นำนวัตกรรม แอปพลิเคชันคันนา (KANNA) มาช่วยบริหารจัดการแปลงเกษตรแบบครบวงจร ซึ่งเน้นไปที่การทำนาปลูกข้าวเปียกสลับแห้ง ข้อมูลที่เกษตรกรรายงานและการตรวจเช็คที่เกิดขึ้นใน แอป KANNA จะทำให้วรุณานำมาใช้เป็นเอกสารหลักฐานในการขอขึ้นทะเบียนโครงการคาร์บอนเครดิต
นายธราณิศบอกว่า ไทยเป็นประเทศที่มีพื้นที่การเกษตรจำนวนมาก หากใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ก็จะเป็นการยกระดับภาคเกษตร และสามารถช่วยลดอุณหภูมิโลกได้ด้วย
อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ กลุ่มปตท. – วรุณาชูเทคโนโลยี AI ลดโลกร้อน บริหารจัดการพื้นที่สีเขียว ขับเคลื่อนเกษตรยั่งยืนได้ ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า
https://thaipublica.org/2023/12/we-shift-world-change-varuna-drives-sustainable-agriculture-environment-with-ai-technology/
อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Facebook,Youtube, Soundcloud, Apple Podcast,Google Podcast,Spotify
#WeShiftWorldChange #UNGCNT #Varuna #PTT
Jan 18
8 min
เราปรับ โลกเปลี่ยน We Shift, World Change เป็นรายงานพิเศษด้วยความร่วมมือระหว่างสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (UN Global Compact Network Thailand)กับไทยพับลิก้า เพื่อนำเสนอ วิสัยทัศน์ นโยบาย และกลยุทธ์ในการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ความยั่งยืน ในบริบทของธุรกิจขององค์กร การมีส่วนร่วมพัฒนาและสนับสนุนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร เช่น คู่ค้า ลูกค้า ในห่วงโซ่อุปทาน ในการปรับตัว และการมีส่วนร่วมยกระดับชุมชนและสังคม ให้เปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน
บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ใหญ่ที่สุด และมีคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่ต่ำที่สุดในภูมิภาค และยังเป็นตัวอย่างของการดำเนินธุรกิจที่ก้าวข้ามเปลี่ยนผ่านจากพลังงานดั้งเดิมหรือฟอสซิสไปสู่พลังงานสะอาด โดยให้ความสำคัญกับสังคมและสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่“การพัฒนาที่ยั่งยืน” และก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ
คุณ วรพจน์ อุชุไพบูลย์วงศ์ กรรมการบริหาร บริษัทซีเค พาวเวอร์ จำกัด(มหาชน) บอกว่า ซีเค พาวเวอร์ มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างความมั่นคงทางพลังงานหมุนเวียนให้กับประเทศ โดยมีการดำเนินธุรกิจตามแนวหลักความยั่งยืนบนพื้นฐานความสมดุลของสังคม สิ่งแวดล้อมและธรรมาภิบาลที่ดี
ตัวอย่างของการปฏิบัติที่ชัดเจน คือ “ต้นแบบโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี” ที่เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำประเภทน้ำไหลผ่าน ที่ทันสมัย ปล่อยให้ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าโรงไฟฟ้าเท่ากับปริมาณที่ไหลออกตลอดเวลา อาศัยอัตราการไหลของน้ำในการผลิตไฟฟ้าโดยไม่มีการกักเก็บน้ำ ไม่ส่งผลกระทบต่ออัตราการไหลของน้ำตามธรรมชาติ อีกทั้งยังใช้นวัตกรรมการออกแบบและก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในภูมิภาค นั่นคือ ระบบทางปลาผ่านแบบผสม ที่เริ่มจากการศึกษาตั้งแต่เริ่มต้นพัฒนาโครงการ เพื่อความเข้าใจเชิงลึกต่อวงจรชีวิตของปลาและพฤติกรรมการอพยพของปลาในแม่น้ำโขง รวมทั้งลักษณะทางกายภาพและชนิดพันธุ์ของปลาที่แตกต่างกัน เพื่อให้ระบบทางปลาผ่านแบบผสมนี้สามารถตอบสนองต่อพฤติกรรมการอพยพของปลาทุกสายพันธุ์ในแม่น้ำโขงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี เป็นโรงไฟฟ้าแรกที่ได้ออกแบบประตูระบายตะกอนให้กดระดับลงไปเท่ากับระดับท้องน้ำ เพื่อให้มั่นใจว่า ตะกอนทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่สามารถไหลผ่านโรงไฟฟ้าไปยังท้ายน้ำได้เหมือนเดิมตามธรรมชาติ และที่สำคัญได้สร้าง “ช่องทางเดินเรือสัญจร เพื่อให้การสัญจรทางเรือของชาวบ้านผ่านโรงไฟฟ้าฯ สามารถสัญจรได้อย่างสะดวกตลอดทั้งปี
CKPower สามารถผลิตไฟฟ้าสะอาดส่งให้ประเทศไทยได้ 9,500,000 เมกะวัตต์ หรือ คิดเป็น 5% ของไฟฟ้าที่ใช้ในประเทศ ช่วยหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 5 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี นับเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างเสถียรภาพให้ประเทศไทย และสนับสนุนการขับเคลื่อนประเทศเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน และมุ่งมั่นผลักดันสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ NET ZERO ภายในปี 2065 ตามเป้าที่รัฐบาลกำหนด
อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม "ซีเค พาวเวอร์ หนุนการเปลี่ยนผ่านพลังงาน ร่วมสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ" ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า
https://thaipublica.org/2023/12/we-shift-world-change-ck-power-supports-energy-transitioning-to-a-low-carbon-society/
อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Facebook,Youtube, Soundcloud, Apple Podcast,Google Podcast,Spotify
#WeShiftWorldChange #UNGCNT #CKPower
Jan 12
7 min
เราปรับ โลกเปลี่ยน We Shift, World Change เป็นรายงานพิเศษด้วยความร่วมมือระหว่างสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (UN Global Compact Network Thailand)กับไทยพับลิก้า เพื่อนำเสนอ วิสัยทัศน์ นโยบาย และกลยุทธ์ในการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ความยั่งยืน ในบริบทของธุรกิจขององค์กร การมีส่วนร่วมพัฒนาและสนับสนุนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร เช่น คู่ค้า ลูกค้า ในห่วงโซ่อุปทาน ในการปรับตัว และการมีส่วนร่วมยกระดับชุมชนและสังคม ให้เปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน
เครือซีพีและมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท ซึ่งก่อตั้งมา 30 กว่าปี มีเป้าหมายขับเคลื่อนงานใน 4 เรื่อง ทั้งเรื่องเด็กและเยาวชน พัฒนาอาชีพและเกษตรกร คุณภาพชีวิตและผู้สูงอายุ รวมถึงโครงการเกี่ยวกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นแผนใหม่ที่เริ่มเมื่อปี 2564 โดยได้เลือกพื้นที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ขึ้นมาดำเนินการภายใต้ "อมก๋อยโมเดล"
นายจอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐและกิจการสัมพันธ์ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด กรรมการเเละเลขาธิการ มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท บอกกับสำนักข่าวไทยพับลิก้าว่า "อมก๋อยโมเดล" มีเป้าหมายในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ป่าต้นน้ำ และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้คนอยู่กับป่าได้อย่างยั่งยืน ด้วยุทธศาสตร์ที่ได้จากการลงพื้นที่จริงเป็นเวลานาน
นายจอมกิตติ เล่าว่า ภาคเหนือเป็นเขตภูเขา ป่าไม้ ต้นน้ำลำธาร แต่มีปัญหาเรื่องการทำเกษตรบนพื้นที่สูง มีการทำไร่หมุนเวียนจำนวนมาก ทำให้พื้นที่กลายเป็นเขาหัวโล้น และอมก๋อย ปัจจุบันถือเป็นอำเภอที่มีสัดส่วนการคงไว้ของป่าในอัตราที่สูงอันดับต้นของพื้นที่ภาคเหนือ โดยพื้นที่อมก๋อย 1.31 ล้านไร่ อยู่ในเขตภูเขาสูงประมาณ 98% เป็นพื้นที่ราบลุ่มสำหรับตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยและทำนาบางส่วนเพียง 2%
มูลนิธิฯ ร่วมกับกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ในเครือซีพี รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม และหลายภาคส่วน เข้าไปดำเนินการในพื้นที่ด้วย 6 แผนงาน ซึ่งส่วนหนึ่งได้แก่ การทำให้ป่าเดิมที่มีอยู่ได้รับการปกป้องรักษา ส่งเสริมการปลูกกาแฟใต้ร่มเงาในป่า และการศึกษาพร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้ การบริหารจัดการ เทคโนโลยี สนับสนุนเงินทุน และการตลาด เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในพื้นที่ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน
นายจอมกิตติกล่าวว่า เครือซีพีหรือมูลนิธิฯนั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นในระบบสังคมในการขับเคลื่อนสังคมไทย ที่เห็นว่าพอมีโอกาส มีทรัพยากร มีศักยภาพตรงไหนที่จะเข้าไปช่วยพัฒนา ที่จะช่วยแก้ไขปัญหา สิ่งนี้เป็นนโยบายของผู้บริหารสูงสุด ขององค์กร
อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ เครือซีพี-มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์ฯ ประสานชาวปกาเกอะญอ ร่วมอนุรักษ์-ฟื้นฟูพื้นที่ป่า “อมก๋อย” ยกระดับคุณภาพชีวิต ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า
https://thaipublica.org/2023/12/we-shift-world-change-cp-group-and-cpfoundationforrural-initiate-omkoi-model/
อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Facebook,Youtube, Soundcloud, Apple Podcast,Google Podcast,Spotify
#WeShiftWorldChange #UNGCNT #เครือซีพี
Dec 1, 2023
43 min
เราปรับ โลกเปลี่ยน We Shift, World Change เป็นรายงานพิเศษด้วยความร่วมมือระหว่างสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (UN Global Compact Network Thailand)กับไทยพับลิก้า เพื่อนำเสนอ วิสัยทัศน์ นโยบาย และกลยุทธ์ในการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ความยั่งยืน ในบริบทของธุรกิจขององค์กร การมีส่วนร่วมพัฒนาและสนับสนุนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร เช่น คู่ค้า ลูกค้า ในห่วงโซ่อุปทาน ในการปรับตัว และการมีส่วนร่วมยกระดับชุมชนและสังคม ให้เปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน
บนเส้นทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (เครือซีพี) ได้ทำให้บริษัทในเครือก้าวขึ้นสู่องค์กรแห่งความยั่งยืนระดับโลก ทั้งการได้เป็นสมาชิก Dow Jones Sustainability Indices การเป็นสมาชิกความยั่งยืน FTSE4Good Emerging Index การได้รับการประเมินที่ดีจากสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ World Business Council on Sustainable Development (WBCSD) และการได้ CG 5 ดาวจากโครงการ CGR2560 ของสถาบันกรรมการบริษัทไทย รวมถึงแนวคิด SEACOSYSTEM เพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลเชิงบูรณาการ ในฐานะที่เครือซีพี เป็นหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานของระบบเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารที่เกี่ยวข้องกับทะเลไทย
ดร.อธิป อัศวานันท์ ผู้บริหารสำนักบริหารความยั่งยืน ธรรมาภิบาล เครือซีพี บอกว่า SEACOSYSTEM เป็นหนึ่งในพันธกิจด้านความยั่งยืนของซีพี โดย SEACOSYSTEM ได้ตั้งสัตยาบันกับภาคประชาชนว่า จะแก้ไขปัญหาเรื่องทะเล
SEACOSYSTEM จึงมีเป้าหมายคือการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล แต่มีผู้ได้ประโยชน์คือ เกษตรกร ชาวประมงที่ได้ประโยชน์ จากการอนุรักษ์ฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลเชิงบูรณาการสำคัญ 5 ด้าน
ดร.อธิปบอกว่า โครงการต่าง ๆ ที่เข้าไปทำกับชาวบ้านนั้น เกิดจากความต้องการของชาวบ้านเอง เป็นโครงการที่ตอบโจทย์ชาวบ้านได้ แต่เครือซีพีช่วยเสริมด้วยเทคโนโลยีและความรู้
ดร.อธิปบอกอีกว่า SEACOSYSTEM เป็นโครงการที่มีผู้ติดต่อขอขอดูงานจำนวนมาก และได้รับรางวัล ทั้งรางวัลพระราชทานและรางวัลในต่างประเทศ รวมทั้ง เป็นโครงการที่ไม่ได้ตอบโจทย์เฉพาะในประเทศไทย แต่ตอบโจทย์ในประเทศที่มีปู อย่างมาเลเซียที่เข้ามาดูงานที่จังหวัดปัตตานีและขอไปนำใช้
ดร.อธิปบอกย้ำว่า เครือซีพีจะผลักดัน SEACOSYSTEM อย่างต่อเนื่อง แม้เครือซีพีจะไม่ได้ทำธุรกิจประมง แต่ ซัพพลายเชนหรือห่วงโซ่อุปทานของเครือ เกี่ยวข้องกับทะเล วัตถุดิบบางส่วนมาจากทะเล และใช้ทะเลในบางส่วน เพราะฉะนั้น ก็เป็นหน้าที่ของเครือซีพีในฐานะบริษัทไทยที่จะต้องฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล เพราะเป็นสมบัติของคนในชาติ ทะเลเป็นของทุกคน
อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ เครือซีพีผนึกกำลังทุกภาคส่วนพัฒนา ฟื้นฟู ทะเลไทยให้ยั่งยืน ตามพันธกิจ SEACOSYSTEM ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า
https://thaipublica.org/2023/11/we-shift-world-change-cp-seacosystem/
อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Facebook,Youtube, Soundcloud, Apple Podcast,Google Podcast,Spotify
#WeShiftWorldChange #UNGCNT #CPG #เครือซีพี
Nov 24, 2023
36 min
เราปรับ โลกเปลี่ยน We Shift, World Change เป็นรายงานพิเศษด้วยความร่วมมือระหว่างสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (UN Global Compact Network Thailand:UNGCNT)กับไทยพับลิก้า เพื่อนำเสนอ วิสัยทัศน์ นโยบาย และกลยุทธ์ในการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ความยั่งยืน ในบริบทของธุรกิจขององค์กร การมีส่วนร่วมพัฒนาและสนับสนุนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร เช่น คู่ค้า ลูกค้า ในห่วงโซ่อุปทาน ในการปรับตัว และการมีส่วนร่วมยกระดับชุมชนและสังคม ให้เปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน
บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ NRF สมาชิกที่โดดเด่นของ สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย ได้ตั้งเป้าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ภายในปี 2030 และก้าวสู่การเป็น บริษัทแห่งแรกที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นลบหรือ Carbon Negative Company บริษัทยั่งยืนแห่งศตวรรษที่ 22
นายแดน ปฐมวาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร NRF บอกกับไทยพับลิก้าถึงแนวทางที่บริษัทจะบรรลุถึงเป้าหมายว่า มี 2 องค์ประกอบด้วยกัน องค์ประกอบแรก คือ นำเทคโนโลยีมาใช้ องค์ประกอบที่สองร่วมมือกับพันธมิตร ได้แก่ เกษตรกร ซึ่งจะทำให้เข้าสู่ Net zero อย่างแท้จริง
NRF เริ่มโครงการนำร่องกับเกษตรกร 20 ราย ด้วยการจ้างเกษตรกรเก็บรวบรวมซังข้าวโพดหลังเก็บเกี่ยว แทนที่จะเผาโดยตรง ซึ่งมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมา
เมื่อได้ซังข้าวโพดจากเกษตรกรแล้ว ก็แล้วนำมาเผาในเตาพิเศษที่บริษัทผลิตโดยใช้เทคโนโลยีของยุโรป ที่ออกแบบให้เป็นเตาเผาที่เผาแล้วไม่ปล่อยมลพิษและก๊าซเรือน กระจก เป็นการเผาในระบบสุญญากาศ เผาออกมาแล้วจะได้วัสดุเหมือนถ่าน เป็น Bio Char (ไบโอชาร์) ซึ่งเรียกว่าไบโอคาร์บอน ที่ดักจับและกักเก็บคาร์บอน
ไบโอชาร์ที่ได้จะนำไปฝังในไร่ อยู่ในดินถาวร ซึ่งสามารถเป็นวัตถุดิบชั้นดีในการฟื้นฟูหน้าดินให้มีความอุดมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ดินสามารถกักเก็บและอุ้มน้ำได้ดียิ่งขึ้น จึงกลายเป็นแทนที่จะปล่อยคาร์บอน กลับเป็นได้ เครดิตคาร์บอน คืนมา
อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ NRF เดินหน้าสู่ Carbon Negative ด้วยโครงการ Decarbonization ใช้เทคโนโลยีดักจับคาร์บอน ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า
https://thaipublica.org/2023/11/we-shift-world-change-nrf-decarbonization/
อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Facebook,Youtube, Soundcloud, Apple Podcast,Google Podcast,Spotify
#WeShiftWorldChange #UNGCNT #Decarbonization #NRF
Nov 17, 2023
22 min
เครือซีพีอยู่คู่ประเทศไทยมาแล้วกว่า 1 ศตวรรษ นับตั้งแต่ก่อตั้ง ร้านจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ผักชื่อ ‘เจียไต้จึง’ ขึ้นในปี 2464 และต่อยอดธุรกิจมา เป็นโรงงานอาหารสัตว์ แปลงทดสอบสายพันธุ์ผัก โรงเรือนเลี้ยงไก่ จนกลายเป็นโรงงานอาหารสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2516 แล้วจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด ในปี 2519
ปัจจุบันเครือซีพีมีธุรกิจที่หลากหลายครอบคลุม 8 สายธุรกิจหลักใน 21 ประเทศและเขตเศรษฐกิจพิเศษ และได้ประกาศยุทธศาสตร์ความยั่งยืนเครือเจริญโภคภัณฑ์ครอบคลุมทั้ง 3 มิติของความยั่งยืน ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม พร้อมออกรายงานความยั่งยืนฉบับแรกเมื่อปี 2559 จากนั้นได้มีการพัฒนาเป้าหมายและจัดทำรายงานความยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันเครือซีพีได้จัดทำรายงานความยั่งยืนไปแล้ว 7 ฉบับ
สมเจตนา ภาสกานนท์ ผู้อำนวยการด้านพัฒนาความยั่งยืน สำนักบริหารความยั่งยืน ธรรมาภิบาลและสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้ให้สัมภาษณ์ ‘ไทยพับลิก้า’ ว่า เครือซีพีเร่งเดินหน้าขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืนสู่ปี 2573 รวมทั้งสิ้น 15 หัวข้อ ครอบคลุมทุกมิติของความยั่งยืน ทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN SDGs)
ในยุทธศาสตร์ความยั่งยืนเครือฯ สู่ปี 2573 นั้นเครือซีพีได้มีการปรับเพิ่มหัวข้อ เข้ามาตามประเด็นปัญหาของโลกที่เปลี่ยนไป ได้แก่ ความปลอดภัยทางไซเบอร์และการปกป้องข้อมูล ความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) และเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
นอกจากนี้เครือฯ จะส่งเสริมและสนับสนุนคู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ ให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 25% ภายในปี 2573
ในโลกปัจจุบันฯ ที่เต็มไปด้วยปัจจัยความผันผวน และปัญหา เครือซีพีได้ปรับตัวและยึดมั่นในหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อรับมือกับปัญหาวิกฤติต่างๆ รวมถึงการเตรียมความพร้อม เพื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 2 ของการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนต่อไป
อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ ‘เครือเจริญโภคภัณฑ์’ กับเป้าหมายท้าทาย “ด้านความยั่งยืน” ที่ต้องเดินต่อ ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า
https://thaipublica.org/2023/11/cp-group-and-challenging-goals-sustainability/
Nov 7, 2023
56 min
ซีรีส์ “เป็นหนี้ต้องมีวันจบ” นำเสนอแนวคิด วิธีการแก้ไขปัญหาหนี้ จากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งประสบการณ์ตรงของลูกหนี้ที่แก้ไขปัญหาหนี้สำเร็จและไม่สำเร็จ ให้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข เพื่อให้ลูกหนี้ที่ยังมีภาระหนี้มีช่องทาง วิธีการแก้หนี้ มองเห็นทางออก มีความหวัง เพื่อเป็นพลังให้ต่อสู้ชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต ซีรีส์นี้ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือลูกหนี้ภาคประชาชนครบวงจร
ในการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มีการตั้งฝ่ายคุ้มครองและส่งเสริมผู้ใช้บริการทางการเงิน เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลและหาแนวทางในการดูแลและให้การศึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านการเงินที่เหมาะสมให้แก่ผู้บริโภคในทุกระดับ โดยพบว่า ปัญหาที่สำคัญของผู้ที่มีปัญหาหนี้สิน คือ ขาดความรู้เรื่องดอกเบี้ย ทั้งในเรื่องอัตราดอกเบี้ย วิธีการคำนวณ ไปจนถึงการเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยระหว่างผู้กู้แต่ละราย นอกจากนี้ ยังพบว่าไม่มีการออมในกรณีที่ฉุกเฉิน ไม่มีการทำบัญชีรายรับรายจ่าย จนนำไปสู่การใช้จ่ายที่มากกว่ารายได้
จุฬาลักษณ์ พิบูลชล ผู้ช่วยผู้อำนวยการ(ควบ) ฝ่ายคุ้มครองและส่งเสริมผู้ใช้บริการทางการเงิน กล่าวว่า งานให้ความรู้ทางการเงิน ถือว่าเป็นการฉีดวัคซีนในเชิงป้องกัน และจะเน้นฝั่งลูกค้า ฝั่งผู้บริโภค สิ่งที่แบงก์ชาติพยายามทำมาและจะทำต่อไป คือ การกระตุ้นที่มีหลักการ 4 ข้อที่เป็นเรื่องของเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม คือ 1.ทำเรื่องให้ง่าย 2.สนุกสนาน น่าดึงดูด 3.ใครก็ทำกัน 4.ทำถูกเวลา ซึ่ง 4 ข้อนี้เรียกว่า EAST คือ Easy Attractive Social และ Timely ที่จะต้องนำมาประยุกต์ใช้
อย่างไรก็ตาม มีปัญหาหรือข้อสังเกตที่พบในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คือ การขาดความรู้เรื่องอัตราดอกเบี้ย และพฤติกรรมที่ไม่ได้มีการเปรียบเทียบก่อนที่จะตัดสินใจเลือกใช้สินเชื่อ
ปัญหาเรื่องดอกเบี้ยที่พบ มี 3 เรื่อง
เรื่องแรก ผู้ที่ใช้สินเชื่อในปัจจุบันไม่รู้ว่า สินเชื่อที่ใช้มีอัตราดอกเบี้ยเท่าไหร่ หน่วยเป็นเท่าไหร่ และเมื่อหมดหนี้แล้ว จะเสียดอกเบี้ยทั้งหมดเท่าไหร่
เรื่องที่สอง คือ ไม่รู้วิธีการคำนวณ
เรื่องที่สาม มักจะไม่รู้ หรืออะไรบ้างที่มีผลทำให้ต้องเสียดอกเบี้ยจำนวนมาก
จุฬาลักษณ์ กล่าวว่า ธปท.มีการให้ความรู้เรื่องการคำนวณดอกเบี้ยอยู่ในเว็บไซต์อยู่แล้ว ในส่วน “สตางค์ STORY” ในเว็บไซต์ https://www.bot.or.th/th/satang-story.html โดยจะมีสูตรการคำนวณ เพื่อทำความเข้าใจ
ถ้าเข้าใจเรื่องดอกเบี้ยได้ ก็จะเสียเงินน้อยลง
อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ เป็นหนี้ต้องมีวันจบ (20) สตางค์ STORY เรื่องการเงินสำหรับทุกคน ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า
https://thaipublica.org/2023/09/how-to-get-out-of-debt-19/
อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify
#เป็นหนี้ต้องมีวันจบ #ธปท #responsibleborrower #responsiblelending
Sep 25, 2023
34 min
ซีรีส์ “เป็นหนี้ต้องมีวันจบ” นำเสนอแนวคิด วิธีการแก้ไขปัญหาหนี้ จากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งประสบการณ์ตรงของลูกหนี้ที่แก้ไขปัญหาหนี้สำเร็จและไม่สำเร็จ ให้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข เพื่อให้ลูกหนี้ที่ยังมีภาระหนี้มีช่องทาง วิธีการแก้หนี้ มองเห็นทางออก มีความหวัง เพื่อเป็นพลังให้ต่อสู้ชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต ซีรีส์นี้ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือลูกหนี้ภาคประชาชนครบวงจร
โครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากหลายแหล่ง รวมถึงเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ผู้ร่วมก่อตั้งโครงการ โดยหมอหนี้พร้อมรับฟัง ให้คำแนะนำ และมีความตั้งใจจริงที่จะช่วยเหลือลูกหนี้อย่างเต็มความสามารถ ปัจจุบันมีทีมหมอหนี้รวม 200 คน และนี่คือหนึ่งในทีมงานหมอหนี้ ที่มาเล่าประสบการณ์ลูกหนี้ที่มีปัญหาจากการกู้นอกระบบ รวมถึงปัญหาความไม่รู้กระบวนการทางกฎหมาย หลงเชื่อคำแนะนำผิดๆ ปล่อยให้มีการบังคับคดี ยึดทรัพย์ ที่ส่งผลกระทบมากกว่าที่คิด
พรชัย เจริญใจ ผู้ทรงคุณวุฒิหมอหนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เล่าให้ฟังว่า ปัญหาการกู้หนี้นอกระบบที่พบบ่อย คือ ลูกหนี้ถูกหลอกให้ทำสัญญากู้เงิน โดยหลังจากลูกหนี้กู้นอกระบบมาระยะหนึ่ง แล้วต้องการกู้เพิ่ม ก็จะพยายามให้ลูกหนี้มาทำสัญญาเพื่อบวกดอกเบี้ยเข้าไปในเงินต้น เป็นดอกเบี้ยที่เจ้าหนี้นอกระบบคิดเอง และผิดกฎหมายที่กำหนดให้ไม่เกิน 15% ต่อปี และเอาดอกเบี้ยที่ค้างอยู่ไปทบเป็นเงินต้น แล้วให้ทำสัญญาให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อใช้เอกสารนี้ในการฟ้องร้อง บังคับคดี ยึดทรัพย์ลูกหนี้ ซึ่งลูกหนี้อาจรู้ไม่เท่าทันเจ้าหนี้นอกระบบ ก็ยอมเซ็นสัญญาไป เพราะต้องการจะขอกู้เงินเพิ่มอีกก้อนหนึ่งจากเจ้าหนี้ แต่หารู้ไม่ว่า สิ่งที่ลงนามไปจะมีผลย้อนกลับมาที่ตัวเอง
“อยากจะฝากเตือนลูกหนี้ที่กู้นอกระบบ อย่าไปหลงกลเจ้าหนี้นอกระบบที่จะหลอกให้เราทำสัญญากู้ในลักษณะเช่นนี้”
พรชัย กล่าวว่า ในฐานะหมอหนี้ ยังต้องทำความเข้าใจที่ถูกต้องให้ผู้ที่เข้ามารับคำปรึกษาด้วย และพยายามเตือนว่าอย่ากู้นอกระบบเลย หรือถ้ามีหนทางใดที่จะปิดหนี้นอกระบบได้ให้รีบปิด เพราะการกู้ในระบบอัตราดอกเบี้ยถูกกว่ามาก และยังพอคุยกันได้ ขณะที่หนี้นอกระบบส่วนมากคุยยาก
อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ เป็นหนี้ต้องมีวันจบ (19) แบงก์ชาติเตือน อย่าหลงกลหนี้นอกระบบ ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า
https://thaipublica.org/2023/09/how-to-get-out-of-debt-18/
อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify
#เป็นหนี้ต้องมีวันจบ #ธปท #responsibleborrower #responsiblelending
Sep 22, 2023
26 min
ซีรีส์ “เป็นหนี้ต้องมีวันจบ” นำเสนอแนวคิด วิธีการแก้ไขปัญหาหนี้ จากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งประสบการณ์ตรงของลูกหนี้ที่แก้ไขปัญหาหนี้สำเร็จและไม่สำเร็จ ให้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข เพื่อให้ลูกหนี้ที่ยังมีภาระหนี้มีช่องทาง วิธีการแก้หนี้ มองเห็นทางออก มีความหวัง เพื่อเป็นพลังให้ต่อสู้ชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต ซีรีส์นี้ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือลูกหนี้ภาคประชาชนครบวงจร
การทำงานของเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการให้คำแนะนำปรึกษาลูกหนี้ โดยเฉพาะลูกหนี้รายย่อยที่ประสบปัญหา ทั้งที่ผ่านคลินิแก้หนี้ หมอหนี้เพื่อประชาชน หรือทางด่วนแก้หนี้ นอกจากจะต้องพูดคุยกับลูกหนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนเพียงพอต่อการให้คำปรึกษาแล้ว เจ้าหน้าที่ธปท.ยังมีความตระหนักถึงจุดยืนในการให้ความช่วยเหลือ ไม่เอนเอียงไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพื่อจะได้ให้คำแนะนำลูกหนี้ได้อย่างดีที่สุด
พันธ์ทิพย์ จันทร์แจ่มแสง ผู้ตรวจสอบอาวุโส (ควบ) ฝ่ายคุ้มครองและส่งเสริมความรู้ผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากประสบการณ์การให้คำปรึกษามีบางกรณีที่ยาก แต่ธปท.ต้องวางตำแหน่งให้ถูกว่า มีหน้าที่ประสานสถาบันการเงินกับลูกหนี้ ถ้าไปคล้อยตามฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ก็จะแก้ไม่จบ ต้องยืนในจุด ในหน้าที่เก็บข้อเท็จจริง เก็บข้อมูลให้มากที่สุด เพื่อจะได้แนะนำลูกหนี้ได้ดีที่สุด
โดยเนื้องานที่ทำ คือ แก้หนี้บุคคลธรรมดา และหนี้ธุรกิจเอสเอ็มอี ที่มีมูลหนี้ 250 ล้านบาทขึ้นไป หรือเป็นพันล้านบาท
จากประสบการณ์พบว่า กรณีที่แก้ยากมากที่สุด คือกรณีลูกหนี้ไม่มีรายได้ ไม่มีสภาพคล่อง หรือเงินเพียงพอที่จะชำระหนี้ ทำให้ไม่สามารถเจรจากับเจ้าหนี้ให้บรรลุผลได้เลย เพราะว่า ไม่มีอะไรจะมาชำระเพื่อปิดจบให้หนี้ก้อนนี้หายไปได้ กับอีกกรณีหนึ่ง คือหนี้ที่ถูกหลอกให้ถอนเงินจากบัญชี
สิ่งสำคัญที่สุด ที่อยากจะย้ำคือ ลูกหนี้ต้องขอเจรจาขอแก้ไขกับเจ้าหนี้เท่านั้น เพราะเจ้าหนี้คือผู้ให้ ลูกหนี้คือผู้ชำระ
ธปท.ทำได้เพียงแค่ตัวกลาง ประสานให้เขาเข้าหากัน และธปท.ยินดีจะให้คำปรึกษาและแนะนำทุกรายที่ติดต่อมา ลูกหนี้สามารถติดต่อได้เลย หรือโทร 1213 ก่อนก็ได้ ก็จะสามารถเลือกแก้หนี้ หรือหาหมอหนี้ หรือแก้หนี้รายใหญ่
อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ เป็นหนี้ต้องมีวันจบ (18) ธปท.ย้ำจุดยืนที่ไม่เอนเอียง ประสานลูกหนี้กับสถาบันการเงิน ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า
https://thaipublica.org/2023/09/how-to-get-out-of-debt-17/
อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify
#เป็นหนี้ต้องมีวันจบ #ธปท #responsibleborrower #responsiblelending
Sep 17, 2023
30 min
ซีรีส์ “เป็นหนี้ต้องมีวันจบ” นำเสนอแนวคิด วิธีการแก้ไขปัญหาหนี้ จากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งประสบการณ์ตรงของลูกหนี้ที่แก้ไขปัญหาหนี้สำเร็จและไม่สำเร็จ ให้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข เพื่อให้ลูกหนี้ที่ยังมีภาระหนี้มีช่องทาง วิธีการแก้หนี้ มองเห็นทางออก มีความหวัง เพื่อเป็นพลังให้ต่อสู้ชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต ซีรีส์นี้ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือลูกหนี้ภาคประชาชนครบวงจร
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ จัดทำโครงการ ‘หมอหนี้เพื่อประชาชน’ ขึ้นเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ ทั้งการให้ข้อมูลและคำแนะนำแก่ลูกหนี้ เกี่ยวกับการบริหารหนี้ และการจัดการด้านการเงินเบื้องต้น รวมถึงคำแนะนำเกี่ยวกับมาตรการและช่องทางในการติดต่อกับสถาบันการเงินเจ้าหนี้ แต่บรรดาหมอหนี้ก็ต้องเผชิญกับความคาดหวังและความเข้าใจผิดหลายด้าน ที่ต้องสื่อสารและทำความเข้าใจให้ชัดเจน
จรัสวิชญ์ สายธารทอง ผู้ตรวจสอบอาวุโส(ควบ) ฝ่ายคุ้มครองและส่งเสริมความรู้ทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย เล่าประสบการณ์ การเป็นหมอหนี้ ว่า เวลาลูกหนี้มีปัญหา แล้วคีย์มาที่ https://app.bot.or.th/doctordebt/ มักจะมีความคาดหวังผิด ๆ ใน 2 เรื่อง คือ
1. ยืมเงินแบงก์ชาติไปปิดหนี้ นี่คือความไม่ถูกต้อง
2. เวลาลูกหนี้จะกรอกข้อมูลเข้ามา มักจะคิดว่าจะได้ตามที่ลูกหนี้ต้องการ
นอกจากความคาดหวังผิด ๆ แล้ว ผู้ที่เข้ามาปรึกษาแบงก์ชาติยังมีเข้าใจผิดบางอย่างด้วย
อันดับหนึ่ง คือ คำว่ารวมหนี้ ซึ่งเข้าใจว่า การรวมหนี้หมายถึง การหาเงินแหล่งเงินอีกแห่งหนึ่งเพื่อมารวมหนี้ที่มีกับอีกหลายๆแหล่งแล้วจ่ายที่เดียว
อันดับสอง คือ ให้แบงก์ชาติไปดำเนินการ
อันดับสาม คือ เมื่อลูกหนี้จ่ายไม่ได้ แล้วได้รับการทวงหนี้ที่บอกว่า ถ้าไม่จ่ายก็ฟ้อง ไปคุยกันที่ศาล ลูกหนี้ก็คิดว่า จะไปขอความเมตตาจากศาล
จรัสวิชญ์ กล่าวว่า หน้าที่ของหมอหนี้ ของแบงก์ชาติ คือ การให้คำปรึก ให้ความรู้ บอกทุกอย่างที่เป็นไปได้ แต่จะทำหรือไม่ขึ้นกับลูกหนี้ และถ้าทำตามคำแนะนำ อาจไม่ได้อย่างที่คิด แต่เบาลงแน่นอน ภาระลดลง
อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ เป็นหนี้ต้องมีวันจบ (17) 3 ความเข้าใจผิดเรื่องการแก้ไขหนี้ ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า
https://thaipublica.org/2023/09/how-to-get-out-of-debt-16/
อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify
#เป็นหนี้ต้องมีวันจบ #ธปท #responsibleborrower #responsiblelending
Sep 12, 2023
41 min
Load more