Luangpor Paisal Visalo‘s Podcast (ธรรมะ จาก หลวงพ่อไพศาล วิสาโล) Podcast

Luangpor Paisal Visalo‘s Podcast (ธรรมะ จาก หลวงพ่อไพศาล วิสาโล)

watpasukato
เสียงบรรยายธรรมของหลวงพ่อไพศาล วิสาโล เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต Dhamma talks by Venerable (Luangpor) Paisal Visalo, Abbot of Watpasukato, Chaiyaphum, Thailand. MP3 files are courtesy of https://www.facebook.com/Zensukato Contact admin: [email protected]
25680123pm--แก่อย่างมีความสุข
23 ม.ค. 68 - แก่อย่างมีความสุข : ใจจะไหลไปอดีต ลอยไปอนาคต ก็ดึงกลับมา ทำที่บ้าน ทำทุกวัน แล้วใจก็จะเริ่มมีความสดชื่น เพราะความรู้สึกตัวจะช่วยขับไล่ความเบื่อ ความเซ็ง ความเหงา มันจะปกป้องใจไม่ให้ความคิดเกี่ยวกับอดีตและอนาคตมารบกวนบีบคั้นเรา อย่าขยันแต่ทำบุญอย่างที่เคยทำ อันนี้ก็ดีอยู่แต่มันไม่พอ ต้องฝึกปฏิบัติธรรมด้วยเพื่อเราจะได้มีเครื่องมือรักษากายและใจ ตอนนี้มันเป็นช่วงเวลาที่เราต้องเปลี่ยนเกียร์แล้วนะ จากเกียร์ 4 เกียร์ 5 มาเปลี่ยนเป็นเกียร์ 1 เกียร์ 2 จากการแสวงหาความสำเร็จ ชื่อเสียง เงินทอง แสวงหาความสุขสิ่งเสพ มาเป็นการดูแลรักษากายและใจให้เป็นสุข   แล้วเราก็จะเป็นคนแก่ได้อย่างมีความสุข ใครจะเรียกว่าเราแก่ เราก็ไม่ได้อับอายอะไร ไม่ต้องเรียกว่าสูงวัยก็ได้ แก่อย่างมีคุณภาพ แก่อย่างมีความสุข ถึงเวลาป่วยก็จะป่วยได้โดยไม่ทุกข์ เพราะว่าเรามีธรรมะรักษากายและใจ เวลาป่วยก็ป่วยแต่กาย ใจไม่ป่วย ไม่วิตกกังวลอะไร อยู่กับความเจ็บป่วย อยู่กับความแก่ได้ด้วยใจที่ไม่ทุกข์ นี่แหละคือสิ่งที่ธรรมะจะช่วยเราได้
Apr 13
27 min
25680122pm--ชีวิตที่ถูกตามใจเป็นทุกข์ได้ง่าย
22 ม.ค. 68 - ชีวิตที่ถูกตามใจเป็นทุกข์ได้ง่าย : คนทุกวันนี้จิตใจอ่อนแอมาก ไม่สามารถที่จะสู้หรือทัดทานกิเลสได้ เพราะว่าถูกตามใจมาตลอด แล้วสิ่งที่ตามใจก็อย่างที่บอก ไม่ใช่พ่อแม่เท่านั้น แต่รวมถึงเทคโนโลยี โทรศัพท์มือถือ โซเชียลมีเดีย พวกนี้มันปรนเปรอเราตลอดเวลา ถ้าเราไม่รู้ทัน เราก็จะพึ่งพา เสพติดมัน แล้วก็ตกเป็นทาสของมัน เพราะว่าไม่มีความสามารถในการยับยั้งชั่งใจ หรือทักท้วงกิเลสได้ การเจริญสติก็เป็นสิ่งสำคัญ แต่นั่นเป็นเรื่องของปัจจัยภายใน เราต้องช่วยกันสร้างหรือสรรหาปัจจัยภายนอกที่จะเกื้อกูลต่อการภาวนา ต่อการทำให้จิตใจของเราเข้มแข็งขึ้น ปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในเป็นสิ่งที่ต้องทำควบคู่กัน มีแต่ปัจจัยภายใน แต่ว่าไม่ให้ความสำคัญกับปัจจัยภายนอก สติหรือว่าปัญญาของเราก็อาจจะไม่เข้มแข็งมากพอที่จะสู้กับกิเลสได้ แต่ถ้าหากว่ามีแต่ปัจจัยภายนอก แต่ไม่สร้างปัจจัยภายใน คือไม่ได้ฝึกจิตฝึกใจไว้ พอเราเปลี่ยนที่ กลับไปอยู่สถานที่เดิม มันก็กลับไปสู่ร่องเดิม ก็คือร่องแห่งความทุกข์ ชีวิตที่ย่ำแย่   ฉะนั้นถ้าเรารักชีวิต รักจิตรักใจของตัวเอง เราต้องรู้จักสร้างปัจจัยภายใน ควบคู่ไปกับการหาปัจจัยภายนอกที่จะช่วยทำให้เราเป็นตัวของตัวเองได้อย่างแท้จริง ไม่ว่าจะมีสิ่งล่อเร้าเย้ายวนอย่างไร ก็ไม่ปล่อยใจให้หลงใหล หรือไม่ปล่อยให้กิเลสมีอำนาจเหนือจิตใจของเรา
Apr 12
27 min
25680121pm--ความทุกข์ไม่จริง
21 ม.ค. 68 - ความทุกข์ไม่จริง : หลายคนเวลาพูดถึงอนิจจัง บางทีก็หวั่นไหว เพราะว่าอนิจจังก็หมายความว่าร่างกายก็จะเสื่อมถอยลงไป อันนี้รวมไปถึงทุกขังด้วย มันไม่เที่ยง คนรักของเรา พ่อแม่ของเรา ลูกของเราไม่เที่ยง สักวันหนึ่งพ่อแม่ก็จากเราไป หรือว่าต่อไปเราก็จะจากลูกจากหลาน นี่เพราะอนิจจัง ความหนุ่มความสาวก็จะเลือนหายไป มีความแก่มาแทนที่ นี่ก็อนิจจัง แล้วก็ทุกขัง หลายคนพอนึกถึงอันนี้แล้ว จิตใจก็หวั่นไหว ยิ่งนึกถึงความตาย ก็ยิ่งรู้สึกว่าอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันชวนให้หดหู่ แต่ที่จริงอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นของดีถ้าเข้าใจ ว่าที่เราทุกข์ เพราะว่าไปยึดมันต่างหาก ไปยึดสิ่งที่มันไม่เที่ยง ไปยึดสิ่งที่มันเป็นทุกข์ ไปยึดสิ่งที่มันไม่ใช่เราของเรา แล้วถึงเวลาที่มันแปรเปลี่ยนไป ถึงเวลาที่มันทุกข์ มันเสื่อมสลายไป ถึงเวลาที่ไม่อยู่ในอำนาจของเรา เราจึงเกิดความโกรธ ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความคับแค้นใจ   เราไม่ได้ทุกข์เพราะอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เราทุกข์เพราะไม่รู้จักอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาต่างหาก คือไม่รู้จักความจริง เพราะถ้าเรารู้จักอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือเข้าใจพระไตรลักษณ์นี้อย่างแท้จริง มันไม่ทุกข์ ที่ว่าไม่ทุกข์ไม่ใช่เพราะว่าสิ่งต่าง ๆ ไม่เสื่อม มันมีเสื่อม มีสลาย แต่เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นว่ามันเป็นเราเป็นของเรา ไม่ยึดมั่นถือมั่นว่ามันจะต้องไม่เสื่อม เพราะฉะนั้นพอมันเสื่อมไปก็เลยไม่ทุกข์
Apr 11
26 min
25680120pm--สุขมีที่กลางใจ
20 ม.ค. 68 - สุขมีที่กลางใจ : คร ๆ ย่อมปรารถนาความสุข ทำทุกอย่างเพื่อหาความสุขมาเป็นของตน แต่ส่วนใหญ่แล้วมักคิดว่าสิ่งที่จะให้ความสุขนั้นอยู่นอกตัว และต้องมีให้ได้มาก ๆ ยิ่งหามาได้มากเท่าไร ก็ยิ่งมีความสุขมากเท่านั้น ดังนั้นจึงพยายามดิ้นรนไขว่คว้าหาเข้าตัวอย่างเต็มที่ โดยหารู้ไม่ว่าแท้จริงแล้วความสุขนั้นอยู่ที่ใจ หากแต่ถูกบดบังด้วยความทะยานอยากและความหลง ต่อเมื่อคลายจากความทะยานอยากและมีสติรู้ตัว ก็จะพบกับความสงบเย็นและโปร่งเบาในใจ ถึงตอนนั้นจึงจะพบว่าความสุขนั้นอยู่กับตัวเรามาตลอด เป็นแต่เรามองไม่เห็น ความสุขนั้นหาได้ที่กลางใจ ขอเพียงแต่มีเวลาอยู่กับตัวเองให้มากจนเป็นมิตรกับตัวเอง ไม่มัวแต่ชะเง้อมองไปนอกตัว หรือจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ตนเองยังไม่มี ถ้าไม่ลืมตัว ปล่อยจิตให้หลงอยู่ในโลกแห่งความคิด หรือจมอยู่กับอดีตและอนาคต ก็จะพบความสุขกลางใจได้ไม่ยาก อันที่จริงเพียงแค่พอใจสิ่งที่มี ยินดีสิ่งที่ได้ ความสุขก็จะปรากฏแก่เราในทันที
Apr 10
29 min
25680119pm--เห็นทุกข์ก่อนจึงคลายทุกข์ได้
19 ม.ค. 68 - เห็นทุกข์ก่อนจึงคลายทุกข์ได้ : ชายคนที่หึงหวง ตอนหลังเขาพบว่า มันไม่ได้เห็นใจเฉพาะตอนที่เกิดความหึงหวงเกิดความโกรธ เวลาใจโปร่งใจโล่งก็เห็น รับรู้ได้โดยที่ไม่รู้ตัวเขาก็พบ เขาก็ได้สร้างความรู้สึกตัวให้เกิดขึ้นในจิตใจ และพบว่าใจไม่ได้ถูกครอบงำด้วยความหึงหวงอย่างเดียว ช่วงเวลาที่มีความโปร่งเบาเป็นอิสระก็มี เพราะความรู้สึกตัว ก็เริ่มเห็นความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เพราะฉะนั้นอารมณ์หึงหวง มันก็เลยไม่สามารถจะครอบงำจิตใจเขาได้ ยังมีอยู่แต่ทำอะไรใจเขาไม่ได้ ตอนหลังก็ค่อยๆคลี่คลายไป กลายเป็นว่าเขาสามารถที่จะครองจิตครองใจได้ด้วยความรู้สึกตัว ไม่ต้องถูกปัญหานี้รุมเร้าซึ่งทำให้ความสัมพันธ์กับภรรยามันร้าวฉาน   ฉะนั้นการมีสติรู้ทันอารมณ์ต่าง ๆ มีอานุภาพมาก ข้อสำคัญคือ มันต้องมีการปฏิบัติ และจะปฏิบัติได้ก็เพราะเห็นว่ามันจะช่วยแก้ปัญหา จะทำอย่างนี้ได้ก็ต้องเห็นว่าความโกรธ ความทุกข์ ความเครียด พวกนี้เป็นปัญหาก่อน เห็นโทษของมันแล้วคิดจะแก้ ถ้าไม่เห็นโทษของมัน ไม่คิดว่ามันเป็นปัญหา หรือไม่รู้ว่ามันมีด้วยซ้ำ อันนี้ก็เท่ากับตกเป็นทาสของมัน จนกระทั่งกว่าจะรู้ตัวก็อาจจะสายไปแล้วก็ได้
Apr 9
27 min
25680118pm--เจออะไรไม่สำคัญว่าทำอย่างไร
18 ม.ค. 68 - เจออะไรไม่สำคัญว่าทำอย่างไร : แต่ถึงแม้เราเจอสิ่งแย่ ๆ เจออุปสรรค เจอความล้มเหลว เจอคำต่อว่าด่าทอ เจอความยากลำบาก เจอความร้อน เจอความหนาว แต่ว่าเราเกี่ยวข้องกับมันอย่างถูกต้อง ไม่หลง ไม่หลงจมอยู่ในความทุกข์ เอาแต่หงุดหงิด โวยวายตีโพยตีพาย มีสติเห็นมัน หรือว่ายกจิตเป็นอิสระจากมัน ไม่มีความยึดว่าเป็นกู เป็นของกู หนาวก็เห็นความหนาวแต่ว่าไม่มีผู้หนาว ร้อนก็เห็นความร้อนแต่ไม่มีผู้ร้อน ใครเขาต่อว่าด่าทอมา เสียงต่อว่าก็เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา ไม่มีอัตตาเข้าไปยึดเข้าไปจับ อันนี้ดีกว่าคนที่ได้รับแต่คำชื่นชมสรรเสริญแต่ก็หลงเพลินในสิ่งเหล่านั้น อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนพระนันทิยะว่า ผลแห่งความดีย่อมเป็นพิษจากผู้ไม่พิจารณา แล้วก็หลงใหลยึดติดในสิ่งนั้นจนประมาทมัวเมา ผลแห่งความดีในที่นี้ก็หมายถึงคำชื่นชมสรรเสริญ ใคร ๆ ก็ชอบ การได้รับการยกย่อง มีสถานภาพดีเรียกว่าเป็นผลแห่งความดี   แต่ถ้าหากว่าเพลิน หลงใหลในสิ่งนั้น อันนี้ไม่ดีเท่ากับคนที่ถูกต่อว่าด่าทอแต่ว่าจิตใจไม่หวั่นไหว หรือว่าแม้จะอยู่ในภาวะที่ต่ำต้อยแต่ว่าก็ไม่ได้ทุกข์ระทม เพราะรู้ว่ามันไม่ใช่สาระของชีวิต หรือเพราะไม่ได้ยึดติดถือมั่นในหน้าตา   ฉะนั้นเวลาเราปฏิบัติธรรม อย่าไปมัวสนใจว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับเรา แต่สนใจว่าเราทำอย่างไรกับมันดีกว่า เพราะนี่แหละเป็นเครื่องหมายของการเป็นนักปฏิบัติถ้าเราปฏิบัติถูก
Apr 8
30 min
25680117pm--สุขหรือทุกข์อยู่ที่การให้ค่า
17 ม.ค. 68 - สุขหรือทุกข์อยู่ที่การให้ค่า : ยิ่งคิดก็ยิ่งรู้ มันยิ่งคิด เราก็ยิ่งรู้ กลายเป็นของดีไปเลย อันนี้รวมถึงเหตุการณ์ในอดีตด้วย ความยากจน ความล้มเหลว เวลานึกถึงมันแล้วก็รู้สึกจิตใจห่อเหี่ยว ท้อแท้ บางทีน้อยเนื้อต่ำใจในโชคชะตา แต่พอเรามองมันอีกครั้งหนึ่งโดยการให้ความหมายใหม่กับมันว่า มันเป็นสิ่งที่ฝึกใจเราให้เข้มแข็ง มันทำให้เราได้เห็นความจริงของชีวิต มันได้ปลุกเอาความสามารถที่แฝงเร้นอยู่ในจิตใจของเราออกมา ถ้าไม่เจอมันก็จะไม่รู้ว่าเรามีความอดทน มีความเข้มแข็ง มีสติปัญญา ต้องขอบคุณ หลายคนเคยคับแค้นใจกับประสบการณ์ในอดีต แต่พอเวลาผ่านไปหลายปี มองย้อนกลับมาเหตุการณ์เดียวกัน กลับซาบซึ้ง ขอบคุณ เพราะอะไร เพราะว่าเห็นคุณค่าของมัน หรือพูดอีกอย่างก็คือว่าให้ค่าหรือให้ความหมายใหม่กับมัน ไม่ได้มองว่ามันเป็นเรื่องเลวร้าย แต่มองว่ามันเป็นสิ่งที่ฝึกฝนให้เราแกร่งอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ถ้าไม่มีเหตุการณ์นั้นหรือถ้าไม่มีวันนั้น เราก็ไม่มีวันนี้ ก็ต้องขอบคุณ   แล้วต้องฉลาดในการจัดการ หรือในการรับมือกับสิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต โดยตระหนักว่าเมื่อมันเกิดขึ้น เราจะสุขหรือทุกข์ไม่ใช่เพราะมัน แต่เพราะใจของเรานี้ไปให้ค่ากับมัน ถ้าเราให้ค่าในทางลบ เราก็ทุกข์ ถ้าเราให้ค่าในทางบวก เราก็ไม่ทุกข์ แถมจะมีความสุขหรือยินดีด้วยซ้ำ
Apr 7
25 min
25680111pm--เข้าใจเรื่องกรรมอย่างไรให้ถูกต้อง
11 ม.ค. 68 - เข้าใจเรื่องกรรมอย่างไรให้ถูกต้อง : เพราะฉะนั้นความเจ็บ ความป่วย ไม่ใช่เป็นสิ่งเลวร้ายเสมอไป อยู่ที่ว่าเราจะมองหรือเราจะใช้มันอย่างไร ซึ่งตรงนี้เป็นเรื่องของกรรม ถ้าเรามองเป็น มีโยนิโสมนสิการ เราก็เห็นสังขารว่าเป็นทุกข์ ไม่น่ายึดถือ เห็นว่าทุกขเวทนาเป็นโทษของสังขาร ทุกขเวทนานั้นก็ส่งให้จิตหลุดพ้น แต่ถ้าเกี่ยวข้องกับทุกขเวทนาไม่เป็น ทุกขเวทนาก็จะดึงจิตลงมาให้จมอยู่กับอารมณ์ที่เป็นอกุศล โศกเศร้า เกิดโทสะ เกิดความคับแค้น ซึ่งถ้าเป็นอย่างนี้จนถึงจิตสุดท้าย ก็ไปอบายแล้ว ทุกขเวทนานี้ถ้าคุณใช้เป็น มันสามารถจะส่งจิตให้หลุดพ้น หลุดพ้นจากวัฏสงสาร หลุดพ้นจากกิเลสได้ แต่ถ้าเกี่ยวข้องไม่เป็น ทุกขเวทนาจะดึงจิตให้จมปลักอยู่กับความทุกข์แสนสาหัส อยู่กับอารมณ์ที่เป็นอกุศล   แล้วเกี่ยวข้องกับทุกขเวทนาอย่างไร อยู่ที่การฝึก เป็นเรื่องของกรรม ทุกขเวทนาเกิดจากอะไร เราไม่ไปเสียเวลาถามว่าเป็นเพราะกรรมเก่าหรือเพราะกรรมในปัจจุบัน เราจะสนใจว่าเราจะรับมือกับมันอย่างไร จะมีสติเห็นมัน จะมีปัญญาเห็นจนเข้าถึงสัจธรรม หรืออยู่ในความหลง ปล่อยให้มันครอบงำจิตจนเป็นอกุศลคับแค้น   ตรงนี้เราเลือกได้ อยู่ที่การกระทำของเรา การกระทำที่ว่านี้คือกรรมฐาน จะใช้กรรมฐานหรือไม่ แล้วเรื่องกรรมไม่ใช่เป็นเรื่องของการทำดี ไม่เบียดเบียนใครเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของการฝึกจิตจนกระทั่งอยู่เหนือกรรม จนหลุดพ้นเข้าถึงความสงบเย็นได้
Apr 6
1 hr 13 min
25680109pm--ปกป้องใจจากความคิดของตัว
9 ม.ค. 68 - ปกป้องใจจากความคิดของตัว : อะไรที่จะทำให้เราเห็นว่า ความคิดไม่ใช่เรา ความคิดไม่ใช่ของเรา ก็สตินั่นแหละ เพราะสติมันช่วยทำให้เห็นความคิด และไม่ยึดความคิดว่าเป็นเรา ว่าเป็นของเรา ถ้าเราเผลอไปยึดว่าความคิดเป็นเรา เป็นของเราเมื่อไหร่ เราก็จะยึด แล้วก็เชื่อ แล้วก็ปล่อยให้มันครองจิตครองใจ เป็นจุดอ่อนของจิต ความคิดนี้มันจะเข้ามาทำร้ายเราได้ หรือว่าความคิดที่แย่ๆ หรืออารมณ์ที่แย่ๆ หรืออารมณ์อกุศล ถ้าไปหลงคิดว่าเป็นเรา เป็นของเรา มันก็เลยจู่โจม ทะลุทะลวง ทำร้ายจิตใจเรา แต่ถ้าเห็นนะว่ามันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันเป็นสักแต่ว่านาม แต่ไม่ใช่เรา ก็ไม่ปล่อยให้มันเข้ามาทะลุทะลวงทำร้ายจิตใจได้   เพราะฉะนั้นทุกวันนี้คนเราจำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีสติในการรักษาใจให้ปลอดภัยจากความคิดและอารมณ์ต่างๆ ที่มันเกิดขึ้นในหัว มันเกิดขึ้นก็ต้องพิจารณาว่าดีไหม ไม่ใช่หลงเชื่อมันทุกอย่าง หรือแม้แต่ดีก็ไม่ไปหมกมุ่นจมดิ่ง หรือว่าไปเคลิ้มคล้อยมัน จนกระทั่งหมดเนื้อหมดตัว
Apr 5
27 min
25680108pm--เจออะไรก็ได้เสมอ
8 ม.ค. 68 - เจออะไรก็ได้เสมอ : ถ้าหากว่าเราไม่ได้ทำเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างเดียว แต่ว่าเรามุ่งเพื่อการเปลี่ยนแปลงตัวเองด้วย ไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นก็ได้ทั้งนั้น ได้ฝึกตน ได้เห็นข้อผิดพลาด ได้ฝึกการวางใจ เรียกว่ามีแต่ได้กับได้ ถ้าไม่ได้ 1 ก็ได้ 2 ได้ 2 คือว่างานก็สำเร็จ แล้วก็ได้ฝึกตนฝึกจิตฝึกใจ แต่ถ้างานไม่สำเร็จก็ยังได้ คือได้ฝึกจิต เพราะฉะนั้นที่ท่านพุทธทาสบอกว่าการทำงานคือการปฏิบัติธรรม ก็คือการที่เราฝึกให้รู้จักการขัดเกลาจิตใจตนเอง ถ้าเราเห็นว่าหรือมองว่าการทำงานคือการปฏิบัติธรรม แม้งานไม่สำเร็จ แต่ก็ได้ปฏิบัติธรรมคือได้ฝึกจิตแล้ว   ไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นกับเรา ไม่ว่าเราเจออะไร ดูดีๆ เรามีแต่ได้ แม้ในยามที่ใครเขาบอกว่าแพ้ แต่ก็ยังได้ ได้เห็นสัจธรรมว่ามันไม่ได้มีแต่ชนะ มันมีแพ้ด้วย แล้วการแพ้มันก็ดี ช่วยลดอัตตาตัวตน เพราะถ้าชนะแล้วมันเหลิง
Apr 4
27 min
Load more